Get Adobe Flash player
Thai English

สถิติผู้เข้าชม

005302794
วันนี้
เมื่อวานนี้
สับดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
รวมทั้งหมด
1626
8463
44296
5211790
91004
316527
5302794

Your IP: 44.192.49.72
Server Time: 2024-09-12 02:29:17

ผู้ใช้งานในขณะนี้

มี 171 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

เข้าสู่ระบบ

ประวัติศูนย์การทหารม้า

     ศูนย์การทหารม้า เป็นหน่วยที่มีประวัติยาวนาน และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  มีการปรับปรุงภารกิจ อัตราการจัด รวมทั้งได้เปลี่ยนนามหน่วยให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละยุคสมัยจากอดีตมาจนถึงนาม “ศูนย์การทหารม้า” ในปัจจุบัน

  • ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ กรมยุทธนาธิการ   มีการจัดหน่วย  จเรทัพบก   และมี  พลเอก สยามมกุฎราชกุมาร(เจ้าฟ้าวชิราวุธฯ) เป็น จเรทัพบก แต่งตั้งเมื่อ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๖  ซึ่งกิจการ จเรทหารม้า ก็อยู่ในอัตราการจัดนี้ด้วย แต่ไม่ปรากฏตำแหน่ง และการจัดไว้ชัดเจน ต่อมา  จเรทัพบก เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมจเรทัพบก” มีเจ้าฟ้าวชิราวุธฯ (ร.๖) ยังคงทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ มีการเปลี่ยนแปลงในทำเนียบกรมยุทธนาธิการ “กรมจเรทัพบก” มีการแบ่งส่วนราชการเป็น จเรทหารราบ และจเรทหารปืนใหญ่  แต่ยังไม่ปรากฏว่า มี “จเรทหารม้า” อยู่ในการแบ่งส่วนราชการนี้อีก 
  • จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗ )  จึงปรากฏว่ามีการจัดเป็น จเรทหารม้า  โดยมี    พลตรี พระเจ้า ลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพ็ชร อรรคโยธิน (จเรทหารช่าง) ทำการในหน้าที่  จเรทหารม้า 
  • ต่อมาวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘) กรมยุทธนาธิการ ได้มีการจัดหน่วยใหม่โดยเปลี่ยน กรมจเรทัพบก เป็น จเรทัพบก และมี จเรทหารม้า เป็นหน่วยขึ้นตรงตามลำดับ โดยมี นายพลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฎราชกุมาร (ร.๖) ราชองค์รักษ์พิเศษ เป็น จเรทัพบก และมีนายพลตรี พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ เป็น จเรทหารราบและเป็นจเรทหารม้า ด้วย 
  • ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จขึ้นครองราชย์ หลังจากนั้นในวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศแก้ไขกิจการทหารใหม่ โดย ยกเลิก กรมยุทธนาธิการเดิม แล้วเปลี่ยนเป็น “กระทรวงกลาโหม” โดยเฉพาะกระทรวงกลาโหม มีการจัดและแบ่งออกเป็น กรม และแผนก ต่าง ๆ รวม ๑๔ หน่วย และมีหน่วยรบอีก ๓ กองทัพ กับอีก ๑ กองพล คือ กองพลที่ ๔ เป็นกองพลอิสระ ในบรรดากรมต่าง ๆ ที่ขึ้นกับกระทรวงกลาโหมนั้น มีการเปลี่ยนจาก จเรทัพบก เป็น กรมจเรทัพบก ซึ่งกรมจเรทัพบก มีหน่วยขึ้นตรงของกรมนี้ แบ่งออกเป็น ๕ แผนก โดยมีการจัดดังนี้ 

กรมจเรทัพบก มี จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระภาณุพันธุวงษ์   วรเดช เป็น จเรทัพบก โดยมีการแบ่งเป็นแผนก คือ 

๑. แผนกจเรทหารราบ

๒. แผนกจเรทหารม้า มี นายพลตรี พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (อุ่ม  อินทรโยธิน) เป็น จเรทหารม้า

๓. แผนกจเรทหารปืนใหญ่

๔. แผนกจเรทหารช่าง

๕. แผนกจเรทหารสื่อสาร      

  • ต่อมา ในวันที่ ๑  กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๕ (ร.ศ.๑๓๑)  ได้เปลี่ยนชื่อจาก แผนกจเรทหารม้า เป็น กรมจเรทหารม้า โดยมี นายพลตรี พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ เป็นจเรทหารม้า 
  • ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ มีการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาโดยให้ นายพลตรี พระเทพ  อรชุณ เป็น จเรทหารม้า กรมจเรทหารม้า          
  • และในวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖   กระทรวงกลาโหม  ได้มีการปรับย้าย  นายทหารรับราชการ และ ออก ประจำการ  ในกรมจเรทหารราบและกรมจเรทหารม้า  คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้  นายพลตรี  พระยาเทพอรชุณ  ซึ่งดำรงตำแหน่ง  จเรทหารราบและจเรทหารม้า เป็น สมุหราชองครักษ์  และให้ นายพลเอก  สมเด็จ  พระเจ้าน้องยาเธอ   เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ทรงเป็นผู้รั้งตำแหน่ง  จเรทหารม้า  ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง  
  • ในวันที่ ๑๕  สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖   ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก  กรมจเรทหารม้า  ซึ่งเดิมขึ้นกับกระทรวงกลาโหม  เป็น  แผนกจเรทหารม้า  ขึ้นกับ กรมจเรทัพบก และขึ้นกับกระทรวงกลาโหม ตามลำดับ  โดยมี จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช  เป็น จเรทัพบก  และมี  นายพลตรี  พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (อุ่ม  อินทรโยธิน)  เป็น จเรทหารราบและจเรทหารม้า                                                                                                                                                              
  • ต่อมาในวันที่  ๑  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗  มีการเปลี่ยนนามหน่วยจาก แผนกจเรทหารม้า เป็น กรมจเรการม้าและสัตว์พาหนะทหารบก มี นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า   กรมหลวง   พิษณุโลกประชานาถ (เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ) เป็นผู้รั้ง จเรการม้าและสัตว์พาหนะทหารบก ๑๐
  • ในวันที่  ๑  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๐   ได้มีการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยอีกจาก  กรมจเรการม้าและสัตว์พาหนะทหารบก  เป็น กรมจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า โดยมี พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงอดิศรอุดมเดช  เป็น จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า ๑๑
  • กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า  กรมพระคชบาล นั้นเป็นกิจการฝ่ายการสัตว์  ควรจะได้โอนกิจการไปอยู่ในหน่วยใดหน่วยหนึ่งที่เหมาะสม  จึงได้โอน กรมพระคชบาลไปอยู่กับ กรมจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า   และได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช   ซึ่งเป็นผู้บัญชาการ กรมพระคชบาล อยู่แล้วเป็น จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า ๑๒ 
  • ในวันที่  ๑  สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘  ได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาโดยให้ พ.ท. พระราญรอนอริราช  ทำการแทน  นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช  ในตำแหน่งจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า  ๑๓ 
  • และในวันที่  ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙  ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บังคับบัญชาอีกตามแจ้งความกระทรวงกลาโหม  เรื่องให้นายทหารรับราชการ  ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพันเอก หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ  ทองใหญ่  ผู้ช่วยทูตในราชการทหารบกประจำประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส  เป็น จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า ส่วน พันโท พระราญรอนอริราช ผู้บังคับการกรมทหารบกม้ารวม  ของกองทัพน้อย ทหารบกที่ ๑  ซึ่งทำการแทน จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้าอยู่ด้วยนั้น คงเป็นผู้บังคับการกรมทหารบกม้ารวม  ของกองทัพน้อย ทหารบกที่ ๑  แต่ตำแหน่งเดียว ๑๔   
  • ต่อมาในวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑  มีการเปลี่ยนนามหน่วยจาก  จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า เป็น กรมจเรทหารม้า โดยมี พล.ต.หม่อมเจ้า ทองทีฆายุ เป็นจเรทหารม้า  และได้มีการแบ่งเป็น แผนกที่ ๑ , แผนกที่ ๒ และแผนกโรงเรียนทหารม้า ซึ่งมี พ.ท. พระประยุทธอริยั่น เป็น ผู้อำนวยการ แผนกโรงเรียนทหารม้า  ๑๕
  • ต่อมาในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗  จากการจัดเป็น กรมจเรทหารบก โดยมี พ.อ. พระประจนปัจจนึก เป็น จเรทหารบก และมีการจัดหน่วยรอง เป็นแผนกที่ ๑  กรมจเรทหารบก  มี พ.ท. พระวิชัยยุทธเดชาคนี (เหล่าราบ) เป็น หัวหน้าแผนก  และแผนกที่ ๒ กรมจเรทหารบก มี พ.ท. หลวงรวบรัดสปัตพล (เหล่าม้า) เป็น หัวหน้าแผนก ๑๖ 
  • และในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑  แผนกที่ ๒ กรมจเรทหารบก ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บังคับบัญชา  เป็น พ.ต. ไชย  ประทีปะเสน  รักษาราชการ  หัวหน้าแผนก ๑๗   
  • ต่อมาในวันที่  ๑  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยอีกจาก  แผนกที่ ๒  กรมจเรทหารบก เป็น  แผนกทหารม้า  กรมเสนาธิการทหารบก  โดยมี พ.ท. ไชย  ประทีปะเสน เป็น หัวหน้าแผนกทหารม้า ๑๘ 
  • และในวันที่  ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑  ก็มีการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยจาก  แผนก ทหารม้ากรมเสนาธิการทหารบก   เป็น กรมจเรทหารม้า โดยมี พ.อ. มจ.ชิดชนก   กฤดากร  เป็น จเรทหารม้า ๑๙   
  • ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖    ได้มีการเปลี่ยนจาก กรมจเรทหารม้า เป็น กรมการทหารม้า โดยมี พล.ต.หม่อมเจ้า  ชิดชนก  กฤดากร เป็น  เจ้ากรมการทหารม้า ๒๐
  • ในวันที่  ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๖   กรมการทหารม้า ได้ย้ายที่ตั้งจาก กองพยาบาลสัตว์ทหารบก  ถนนเศรษฐศิริ  ไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่  ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม  ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี (แต่เดิมเป็นที่ตั้งกองบังคับการกรมทหารราบที่ ๒๑ และกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๑ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ม.พัน ๑๑ รอ.) 
  • ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗  พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ได้พระราชทาน ชื่อค่ายว่า  "ค่ายอดิศร"  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่  พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดมเดช   โดย พลตรี หม่อมเจ้าชิดชนก  กฤดากร  ขณะดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมการทหารม้า  เป็นผู้กราบถวายบังคมทูล ฯ  ขอพระราชทาน ๒๑ และต่อมามีคำสั่ง กองทัพบกที่ ๑๐๔/๑๑๑๖๒  ลงวันที่  ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗  ให้มีการเปลี่ยนแปลงนามหน่วย  ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนจาก กรมการทหารม้า  เป็น ศูนย์การทหารม้า

 

 

 กรมการทหารม้า ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

(แต่เดิมเป็นที่ตั้งกองบังคับการกรมทหารราบที่ ๒๑ และกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๑ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ม.พัน ๑๑ รอ.)

 

  • และในปีเดียวกันนี้  มีการยกเลิกอัตรา  กรมยุทธศึกษาทหารบก แล้วใช้อัตรา  กรมยุทธศึกษาทหารบกใหม่  จึงยกเลิกอัตรา “กรมการทหารม้า” แล้วใช้อัตราใหม่เป็น  “ศูนย์การทหารม้า”  ๒๒
  • การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๙๘  มีพระราชกฤษฎีกา  จัดวางระเบียบราชการกองทัพบก  ในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๘  ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.  ให้ไว้  ณ  วันที่  ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘  เป็นปีที่ ๑๐  ในรัชกาลปัจจุบัน  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ  ให้ประกาศว่า  โดยที่เป็นการสมควรจัดวางระเบียบราชการกองทัพบก  ในกระทรวงกลาโหม  เสียใหม่  ฯลฯ  ๒๓

๒.  ส่วนการศึกษา  ได้แก่

(๑) กรมยุทธศึกษาทหารบก  มีหน่วยขึ้น

ก. ศูนย์การทหารราบ

ข. ศูนย์การทหารม้า   

ค. ศูนย์การทหารปืนใหญ่

(๒) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

(๓) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

  • และในปี พ.ศ.๒๕๑๕  ศูนย์การทหารม้า ได้เคลื่อนย้ายที่ตั้งจาก ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม   ตำบลปากเพรียว  มาเข้าที่ตั้งใหม่ ณ ตำบล ปากข้าวสาร อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ติดถนนพหลโยธินห่างจากกลางเมืองสระบุรีประมาณ  ๒  กิโลเมตร ใกล้ถึงทางแยกถนนมิตรภาพ  อนึ่งเมื่อ ๑๒  พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕  ( ตำบลปากข้าวสาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การทหารม้านี้ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ตำบล ปากเพรียว ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี  ฉบับที่ ๒  พ.ศ. ๒๕๑๗   คำสั่งจังหวัดสระบุรี ที่ ส.บ. ๑๙/๑๘๘๕๐ ลง ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๗ )

 

    ลำดับการเปลี่ยนแปลงนามหน่วย  ที่เกิดขึ้น

  • พ.ศ. ๒๔๕๑  จเรทหารม้า
  • พ.ศ. ๒๔๕๓  แผนกจเรทหารม้า (ครั้งที่ ๑)
  • พ.ศ. ๒๔๕๕  กรมจเรทหารม้า (ครั้งที่ ๑)
  • พ.ศ. ๒๔๕๖  แผนกจเรทหารม้า (ครั้งที่ ๒)           
  • พ.ศ. ๒๔๕๗  กรมจเรการม้าและสัตว์พาหนะทหารบก
  • พ.ศ. ๒๔๖๐  กรมจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า
  • พ.ศ. ๒๔๗๑  กรมจเรทหารม้า (ครั้งที่ ๒)
  • พ.ศ. ๒๔๗๔  ยุบเลิกกรมจเรทหารม้า
  • พ.ศ. ๒๔๗๗  แผนกที่ ๒  กรมจเรทหารบก
  • พ.ศ. ๒๔๘๔  แผนกทหารม้า  กรมเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. ๒๔๙๑  กรมจเรทหารม้า (ครั้งที่ ๓)
  • พ.ศ. ๒๔๙๖  กรมการทหารม้า
  • พ.ศ. ๒๔๙๗  ศูนย์การทหารม้า

 

เอกสารอ้างอิง

  •  เอกสารศูนย์การทหารม้า จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓
  •  ทำเนียบ ข้าราชการในกรมทหารบก ร.ศ. ๑๒๗
  •  ทำเนียบ ข้าราชการในกรมทหารบก ร.ศ. ๑๒๘,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ หน้า ๒๕๘๐ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์  ร.ศ. ๑๒๘
  • ๔ เอกสารศูนย์การทหารม้า  จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ , ทำเนียบข้าราชการในกรมทหารบก  ร.ศ. ๑๒๘   หน้า ๑๓
  • ๕ ทำเนียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม วันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙  หน้า ๑๐ และเอกสารศูนย์การทหารม้า  พ.ศ. ๒๕๑๙   หน้า ๗๘   
  • ๖ ทำเนียบกระทรวงกลาโหม วันที่ ๑  มีนาคม ร.ศ. ๑๓๑
  • ๗ ทำเนียบทหารบก  วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ 
  • ๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐  หน้า  ๒๙๗๑ - ๒  วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๕๖  
  • ๙ ทำเนียบกระทรวงกลาโหม วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
  • ๑๐ ทำเนียบทหารบก  วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗
  • ๑๑ ทำเนียบทหารบก วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๐ , ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ หน้า ๑๘๗๖ – ๑๘๗๗   วันที่ ๒๐  กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐
  • ๑๒ ทำเนียบทหารบก วันที่ ๑๕  สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗
  • ๑๓ ทำเนียบทหารบก วันที่ ๑  สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
  • ๑๔ ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๔๓  หน้า ๑๒๖๘  ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙            
  • ๑๕ ทำเนียบทหารบก  ตอนที่ ๑ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑
  • ๑๖ ทำเนียบทหาร  ตอนที่ ๑  วันที่  ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ หน้า ๒๕ – ๒๖
  • ๑๗ ทำเนียบทหาร  ตอนที่ ๑  วันที่  ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ หน้า ๖๑ 
  • ๑๘ ทำเนียบทหาร  ตอนที่ ๑  วันที่  ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔ หน้า  ๗๐
  • ๑๙ ทำเนียบกองทัพบก  ลับ (เฉพาะเจ้าหน้าที่)  ตอนที่ ๑  วันที่  ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ หน้า  ๓๓
  • ๒๐ ทำเนียบกองทัพบก  ปกปิด  ส่วนกลางและส่วนการศึกษา  พ.ศ. ๒๔๙๖  เล่มเลขที่ ๑๙ 
  • ๒๑ แจ้งความกองทัพบก ที่ ๒๔/๑๔๕๘๑ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๖ เรื่อง พระราชทานชื่อค่าย กรมการทหารม้า
  • ๒๒ คำสั่ง กระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๔๔/๑๒๒๙๑ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก ๙๑ ครั้งที่ ๗๔ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน  พ.ศ.๒๔๙๗ 
  • ๒๓ (ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๗๒  ตอนที่ ๑๙ ๘  มีนาคม ๒๔๙๘ หน้า ๓๑๑)