Get Adobe Flash player
Thai English French German Italian Portuguese Russian Spanish

สถิติผู้เข้าชม

001104017
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งหมด
99
111
415
1103172
1532
1043
1104017

Your IP: 18.218.184.214
Server Time: 2024-04-19 20:56:43

ผุ้ใช้งานในขณะนี้

มี 6 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

การอ่านแบบทหารอาชีพ

ใน การจัดการสัมมนาของกรมกาลังพลทหารบกที่อยุธยา เมื่อ ๑๑-๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ เรื่องแนวทางการศึกษาของกาลังพลกองทัพบก กรมกาลังพลทหารบกได้จัดทาเอกสารประกอบการสัมมนา โดยในเอกสารดังกล่าวได้มีการนำเสนอคาใหม่ที่อาจยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของกา ลังพลส่วนใหญ่ในกองทัพบกนัก นั่นคือคาว่า “การอ่านแบบทหารอาชีพ” ซึ่ง มีคาถามจากผู้ร่วมสัมมนาบางท่านว่า คืออะไร ทาไมต้องเป็นการอ่านแบบทหารอาชีพ การอ่านหนังสือปกติก็น่าจะดีอยู่แล้ว ต้องมาแยกแยะเป็นการอ่านแบบทหารอาชีพทาไม ไม่เคยได้ยินหรือรู้จักคานี้มาก่อน จึงเป็นการสมควรที่จะได้ขยายความเพื่อให้กาลังพลของกองทัพบกได้เข้าใจถึง ความหมายของการอ่านแบบทหารอาชีพ ให้กาลังพลที่เป็นทหารอาชีพได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อหาความรู้ด้วยตนเอง อันจะเป็นการพัฒนาตนเองและส่งผลดีในภาพรวมต่อกองทัพบกและประเทศชาติสืบไป โดยสามารถแสวงหาความรู้ด้วยการอ่านที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ของตน

ความ หมายของการอ่าน คือ การเข้าใจสารและรับรู้ความหมายของสารจากตัวอักษรออกมาเป็นถ้อยคาความคิด โดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ ตีความ และประเมินค่าของผู้อ่านแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการรู้จักนำความคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างไร ส่วนจุดประสงค์ของการอ่าน โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี 3 ประการ คือ การอ่านเพื่อความรู้, การอ่านเพื่อศึกษาแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป, และการอ่านเพื่อความบันเทิง นอกจากนี้ ยังได้คุณค่าของการอ่านทางอารมณ์, ทางสติปัญญา และทางสังคม

“การอ่านแบบทหารอาชีพ” หรือการอ่านเพื่อความเป็นทหารอาชีพ มาจากคาว่า Professional Military Reading โดย วิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักรของสหรัฐฯ ได้รวมรวมรายชื่อหนังสือสาหรับกาลังพลของเหล่าทัพต่าง ๆ เพื่ออ่านสาหรับความเป็นทหารอาชีพ นอกจากนี้ คู่มือกองทัพบกสหรัฐฯ DA Pam 600–3 Commissioned Officer Professional Development and Career Management (การพัฒนาความเป็นทหารอาชีพและการจัดการแนวทางรับราชการนายทหารสัญญาบัตร) ได้กล่าวถึงการอ่านแบบทหารอาชีพ (Professional Reading) ซึ่งถือเป็นการพัฒนาตนเองวิธีหนึ่ง และยังได้กำหนดโครงการอ่านแบบทหารอาชีพ (Professional Reading Program) ในทุกเหล่าของกองทัพบกเพื่อให้รู้จักแง่มุมทางประวัติศาสตร์และการรบในทุกระดับชั้นยศ

ราย ชื่อหนังสือสำหรับการอ่านแบบทหารอาชีพของกองทัพบกสหรัฐฯ เป็นหนังสือสำหรับผู้นำระดับต่าง ๆ ซึ่งหนังสือเหล่านี้เป็นเหมือนเสาหลักสำหรับพัฒนาความเป็นผู้นำ โดยกระตุ้นความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับความเป็นทหารอาชีพและบทบาทของอำนาจกาลัง รบทางบก, ให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ทหารและประเพณีที่สืบทอดกันมาของกองทัพบก, การ วิเคราะห์และสะท้อนภาพในอดีตและอนาคต และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อกองทัพบกและกาลังรบในอนาคตในศตวรรษที่ ๒๑ โดยศูนย์ประวัติศาสตร์ทหาร (Center of Military History (CMH)) ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งภายใต้ Administrative Assistant to the Secretary of the Army เป็น หน่วยแนะนำ ซึ่งการคัดเลือกหนังสือดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าหน่วยแนะนำเห็นด้วยกับมุม มองหรือการสื่อของผู้เขียน แต่หนังสือเหล่านี้จะกระตุ้นแนวคิดและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนากองทัพบกใน ปัจจุบัน โดยคาดหวังว่ากาลังพลจะได้ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์, ศึกษา และอ่านเพิ่มเติม ซึ่งแบ่งกาลังพลออกเป็น ๔ กลุ่ม ตามระดับความรับผิดชอบและประสบการณ์เฉพาะตั้งแต่พลทหารถึงผู้บังคับหมวดจน กระทั่งนายพล โดยแต่ละกลุ่มมีหนังสือ ๑๑ เล่ม ซึ่งการอ่านนี้จะให้แนวทางการศึกษาที่ก้าวหน้าที่จะช่วยเตรียมทหารแต่ละนาย สำหรับความรับผิดชอบในระดับต่อไป, เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่าง ช่วงว่างจากการเรียนที่โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการและโรงเรียนทางทหารต่าง ๆ นอกจากนี้ จะสามารถใช้หนังสือเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการตั้งชมรมหนังสือ, กลุ่ม สนทนา และการพัฒนาความเป็นทหารอาชีพอื่น ๆ ทั้งนี้ ไม่มีวิธีการศึกษาศิลปะการทหารอื่นใดที่จะดีไปกว่าการอ่านประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากที่นายพล George S. Patton, Jr. เขียนจดหมายถึงบุตรของท่านซึ่งต่อมาได้เป็นนักเรียนนายร้อยเวสต์ปฺอยนท์ “เพื่อเป็นทหาร ลูกต้องรู้ประวัติศาสตร์ (to be a soldier, you must know history)” ซึ่งรายชื่อหนังสือสำหรับอ่านเพื่อความเป็นทหารอาชีพของกองทัพบก มีรายละเอียดสำหรับแต่ละกลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ ๑ นักเรียนทหาร, พลทหาร, นายทหารประทวนชั้นยศสิบเอกลงมา คือ ๑. An Army at Dawn: The War in Africa, 1942-1943 กล่าวถึงการร่วมรบของกองทัพอเมริกา ในอาฟริกาเหนือตั้งแต่ปี ๑๙๔๒ และต้นปี ๑๙๔๓ จนพันธมิตรได้รับชัยชนะในปี ๑๙๔๕, ๒. The Savage Wars of Peace: Small Wars and the Rise of American Power กล่าว ถึงสงครามขนาดเล็กของอเมริกา เน้นที่ยุทธการของกองทัพเรือและนาวิกโยธินในศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ ยุทธการของกองทัพบกในการจลาจลที่ฟิลิปปินส์เมื่อปี ๑๘๙๙ ถึง ๑๙๐๒ ในฐานะเหมือนกาลังตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อย, ๓. The Red Badge of Courage เล่าถึงชีวิตของทหารช่วงสงครามกลางเมือง ซึ่งเปลี่ยนจากคนขลาดเป็นวีรบุรุษ, ๔. รัฐธรรมนูญ ในฐานะทหารและประชาชน และที่ได้สาบานที่จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ จึงต้องอ่านเพื่อปฏิบัติตามคาสาบานนั้น, ๕. Centuries of Service: The U.S. Army, 1775-2005 กล่าวเกี่ยวกับภารกิจต่าง ๆ ของกองทัพบกสหรัฐฯ ในประวัติศาสตร์ทั้งสงครามและการปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การสงคราม, ๖. The Face of Battle กล่าวถึงการรบ ๓ การรบ คือ อาแชงกูร์ (Agincourt (1415)), วอเตอร์ลู (Waterloo (1815)) และซอมม์ (First Battle of the Somme (1916)) ให้ความรู้สึกว่าชีวิตทหารเป็นอย่างไรและความยากลาบากของการรบ, ๗. American Soldiers: Ground Combat in the World Wars, Korea, and Vietnam แสดงประสบการณ์ของทหารตั้งแต่เริ่มเข้าประจาการจนถึงการรบและผล, การเป็นผู้นำ, ความเครียดทางกายและใจของสนามรบ และวิธีเผชิญกับความเครียด, ๘. David McCullough 1776 กล่าวถึงสงครามปฏิวัติจากปี 1775 จนถึงชัยชนะของ จอร์จ วอชิงตัน ที่ Trenton และ Princeton ในปลายปี 1776 แสดงถึงความมุ่งมั่น อุทิศตน และความเป็นผู้นำที่ดี, ๙. For Cause and Comrades: Why Men Fought in the Civil War กล่าวถึงทหารในสงครามกลางเมืองที่เอาชนะความกลัวโดยอุทิศตนต่ออุดมการณ์ที่กระตุ้นให้เข้าประจาการ ได้แก่ หน้าที่ (duty), เกียรติยศ (honor), ความรักชาติ (patriotism) และความรักในเสรีภาพ (love of liberty), ๑๐. We Were Soldiers Once . . . and Young เป็นเรื่องการรบเมื่อ พ.ย.๑๙๖๕ ที่ Ia Drang ของกองพันที่ ๑ กรมทหารม้าที่ ๗ กองพลทหารม้าที่ ๑ (1st Battalion, 7th Cavalry, 1st Cavalry Division) ซึ่งเป็นการทดสอบแห่งแรกของแนวคิดกาลังรบเคลื่อนที่ทางอากาศ (airmobile) และการรบครั้งแรกระหว่างกาลังของสหรัฐฯ กับกองทัพบกเวียดนามเหนือ, และ ๑๑. American Military History, Volume II: The United States Army in a Global Era, 1917-2003 เป็นเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับกองทัพบกในห้วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ถึงต้นสงครามอิรัก

กลุ่มที่ ๒ จ่าสิบเอก, นายทหารชั้นนายร้อย คือ ๑. The Day of Battle: The War in Sicily and Italy, 1943-1944 กล่าวถึงกองทัพอเมริกาในปฏิบัติการยกพลขึ้นบกยึดเมดิเตอเรเนียน เอาชนะอิตาลี แสดงความกล้าหาญและทรหดของทหารอเมริกา ซึ่งเป็นการก้าวสู่การขึ้นบกที่ตอนเหนือของผรั่งเศสต่อไป๒. East of Chosin: Entrapment and Breakout in Korea, 1950 เป็นเรื่องของกองพลทหารราบที่ ๗ ที่ทาการรบ ๔ วัน ๕ คืน ทางตะวันออกของอ่างเก็บน้า Changjin (Chosin) เมื่อ พ.ย. และ ธ.ค. ๑๙๕๐ โดยต้องอดทนต่อความยากลาบาก, อากาศที่หนาวเย็น, การขาดแคลนสิ่งดารงชีพ ความเหน็ดเหนื่อย และเผชิญกับกาลังที่เหนือกว่า, ๓. Savage Peace: Americans at War in the 1990's กล่าว ถึงภารกิจนอกแบบต่าง ๆ โดยกองทัพบกสหรัฐฯ ใน ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะภารกิจรักษาสันติภาพทั่วโลก ตั้งแต่เลบานอนซีนาย โซมาเลีย และบอลข่าน แสดงความสามารถในการแก้ปัญหาตามปัจจัยเฉพาะพื้นที่, ๔. Battleground Iraq: Journal of a Company Commander เป็น บันทึกของผู้บังคับกองร้อยในกองพลทหารราบที่ ๔ ทางตอนเหนือของแบกแดดจากปี ๒๐๐๓ ถึงต้นปี ๒๐๐๔ เกี่ยวกับความเครียดและอารมณ์ของทหารในสงคราม ความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติการทางยุทธวิธีกับภารกิจการสร้างชาติ และการใช้ความรู้ใหม่ ๆ, ๕. Washington's Crossing เป็น เรื่องเกี่ยวกับ "ช่วงเวลาที่ยากลาบาก" ของสงครามปฏิวัติอเมริกาเมื่อปี ๑๗๗๖ ซึ่งกองทัพของจอร์จ วอชิงตัน ต้องร่นถอยจากนิวยอร์กซิตี้ ผ่านนิวเจอร์ซี ไปยังพื้นที่กันดารและหนาวเย็นทางตะวันออกของเพนซิลวาเนีย จนได้รับชัยชนะที่ Trenton และ Princeton ด้วยความกล้าหาญ, ความพากเพียร และการทาตัวเป็นตัวอย่าง, ๖. Counterinsurgency Warfare: Theory and Practice เขียนในช่วงการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เติบโตเมื่อปี ๑๙๖๐ ซึ่งสามารถใช้ได้กับปัจจุบัน ใช้บทเรียนในกรีซ, อัลจีเรีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสงครามในอนาคต, ๗. America's First Battles: 1776-1965 กล่าวถึงสงคราม ที่กองทัพบกสหรัฐฯ เข้าร่วม ตั้งแต่การเตรียมตัวในยามปกติ, การระดมกาลังเพื่อการสงคราม, การรบครั้งแรก และการปรับตามสถานการณ์การรบ, ๘. The Dynamics of Military Revolution, 1300-2050 ให้กรอบแนวคิดและสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์เพื่อเข้าใจรูปแบบการเปลี่ยนแปลง, นวัตกรรม และการปรับเปลี่ยนที่ทาให้เกิดสงครามในโลกตะวันตกตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๔, ๙. Company Commander เป็นบันทึกของผู้บังคับกองร้อยหนุ่มในการยุทธ์ที่บัลจ์ (Battle of the Bulge) และ เรื่องเล่าของทหารราบอเมริกาในการรบ ให้ความรู้สึกถึงความรับผิดชอบในการบังคับบัญชาหน่วยโดยผู้บังคับหน่วยขนาด เล็กและนายทหารที่ยังไม่มีประสบการณ์ที่ต้องเข้าสู่การรบ ทักษะความเป็นผู้นำที่จำเป็นเพื่อการมีชีวิตรอด และพลังที่ไม่มีตัวตนที่ยึดหน่วยขนาดเล็กเข้าด้วยกันเมื่อเผชิญกับอันตราย และการสูญเสีย, ๑๐. Cambridge Illustrated History of Warfare เป็นเรื่องเกี่ยวกับสงครามตะวันตกจากสมัยโบราณถึงปัจจุบัน พัฒนาการของสงครามทางบก ทะเล และอากาศ, อาวุธและเทคโนโลยี, ยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี, การส่งกาลังบำรุง และการข่าว โดยเน้นที่แง่มุมทางเศรษฐกิจ-สังคมของสงคราม, การเติบโตเป็นมหาอำนาจโลกของชาติตะวันตก และลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมทหาร, และ ๑๑. Supplying War: Logistics from Wallenstein to Patton กล่าวถึงประวัติศาสตร์ทหารสี่ศตวรรษ เน้นด้านการส่งกาลังบำรุง

กลุ่มที่ ๓ จ่าสิบเอก (พิเศษ), นายทหารชั้นนายพัน คือ ๑. U.S. Army Counterinsurgency and Contingency Operations Doctrine, 1942-1976 เป็นเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายของกองทัพบกสหรัฐฯ, การสร้างชาติ, และ การสร้างเสถียรภาพในทศวรรษต่าง ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นการปฏิวัติหลักนิยมการปฏิบัติการทางการเมือง-การทหารโพ้นทะเล การประเมินว่าหลักนิยมเป็นไปได้เพียงใดภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ในการยึดครองของเยอรมัน, สงครามกลางเมืองของกรีก, การแทรกแซงในเลบานอน และสงครามเวียดนาม, ๒. The Limits of Air Power: The American Bombing of North Vietnam กล่าว ถึงการใช้กาลังทางอากาศในสงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามเกาหลี อธิบายการพัฒนาหลักนิยมของกองทัพอากาศจากประสบการณ์ของอเมริกาในสงครามเหล่า นี้ซึ่งใช้ในของสงครามกองโจรแบบจากัดในเวียดนาม อำนาจและข้อจากัดของการสนับสนุนทางอากาศ, ๓. The Black Regulars, 1866-1898 เป็นเรื่องของทหารผิวดาในกองทัพบกสหรัฐฯ ตั้งแต่หลังสงครามกลางเมือง, ตะวันตกของอเมริกา, สงครามสเปน-อเมริกา, สงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้แก่ทหารอเมริกาทุกนาย, ๔. Cobra II: The Inside story of the Invasion and Occupation of Iraq เป็นการมองการวางแผนบุกอิรักโดยฝ่ายเสนาธิการกระทรวงกลาโหมและหน่วยรอง ข้อผิดพลาดในการกำหนดสมมุติฐาน, ข่าวกรอง, การเมืองส่วนตัว และการขาดวิสัยทัศน์ ทาให้ยุทธศาสตร์ endeavor ขาดความเหมาะสม เกิดผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดและเพาะเมล็ดพันธุ์สงครามในอนาคต, ๕. On Killing: The Psychological Cost of Learning to Kill in Warand Society จาก การวิจัยที่พบว่าพลปืนเล็กประมาณร้อยละ ๑๕-๒๐ ที่ทาการยิงข้าศึก จึงได้ทดสอบการฝึกทหารที่จะทาให้ทหารทาการยิงตอบโต้ ซึ่งแม้ว่าจะเพิ่มอัตราการยิงอย่างเห็นได้ชัดในสงครามเกาหลีและเวียดนาม แต่ก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจของทหารเมื่อกลับไปบ้าน ซึ่งผู้นำทหารทุกระดับต้องใส่ใจ, ๖. The AEF Way of War: The American Army and Combat in World War I กรณี ศึกษายุทธวิธีและหลักนิยมภายใต้การยิงของกองพลของอเมริกา ๔ กองพล ในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยกองพลที่ ๑ และ ๒ มีการประสานงานระหว่างปืนใหญ่-ทหารราบโดยสมบูรณ์ จน พ.ย.๑๙๑๘ ได้บรรลุ “ภาวะสูงสุด (state of the art)” ที่ กองทัพบกพันธมิตรนาไปปฏิบัติ ส่วนอีก ๒ กองพลล้มเหลว เนื่องจากผู้บัญชาการกองพลไม่สามารถดารงการควบคุมหน่วยรองของตน และติดยึดอยู่กับหลักนิยมสงครามเดิม ๆ, ๗. The Philippine War, 1899-1902 เล่าการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการทางทหารในฟิลิปปินส์จากการรบแบบปูอมค่ายใน ช่วงแรก ๆ ไปเป็นการปฏิบัติการต่อกองโจร เป็นเรื่องการสงครามนอกแบบที่ซับซ้อน มีค่าต่อผู้ที่ต้องการเข้าใจในการต่อต้านการก่อการร้ายในวัฒนธรรมและสภาพแวด ล้อมของต่างชาติ, ๘. Battle Cry of Freedom: The Civil War Era เป็นเรื่องสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยกล่าวถึงสาเหตุ, ยุทธการต่าง ๆ, ทหาร, ผู้นำ และแง่มุมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชีวิตในสหภาพและสหพันธ์ ก่อนและระหว่างสงคราม, ๙. Thinking in Time: The Uses of History for Decision Makers ให้ คาแนะนำที่มีค่ายิ่งแก่ผู้นำระดับสูงถึงวิธีการใช้และหลีกเลี่ยงการใช้ ประสบการณ์ที่มีค่าอย่างผิด ๆ ที่ประวัติศาสตร์จะสามารถให้ได้, ๑๐. Summons of the Trumpet: U.S.-Vietnam in Perspective เป็นประวัติศาสตร์สงครามเวียดนามจาก ค.ศ.๑๙๕๔-๑๙๗๓ กรอบแนวทางสงครามที่ยาวนานและสับสน และสรุปแนวโน้มทางการทหารและการเมืองที่สำคัญ, และ ๑๑. Makers of Modern Strategy: From Machiavelli to the Nuclear Age รวมวิวัฒนาการของแนวคิดด้านยุทธศาสตร์ตั้งแต่ Machiavelli ถึงบทความยุทธศาสตร์ปัจจุบัน เช่น หลักนิยม, อัจฉริยภาพของนโปเลียน, ข้อจากัดของกาลังทางอากาศ และยุทธศาสตร์นิวเคลียร์

กลุ่มที่ ๔ พันเอกขึ้นไป คือ ๑. Supreme Command: Soldiers, Statesmen, and Leadership in Wartime ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นผู้นำและความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหาร โดยเน้นที่อับบราฮัม ลินคอล์น, Georges Clemenceau, วินสตัน เชอร์ชิล และ เดวิด เบน-กูเรียน, ๒. Eisenhower: A Soldier's Life กล่าวถึง ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์, ๓. Knowing the Enemy: Jihadist Ideology and the War on Terror เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มอิสลาม การทาสงครามศักดิ์สิทธิ์ (jihadism) ตั้งแต่ ต้นศตวรรษที่ ๑๔ และ ๑๘ ในซาอุดิอารเบีย จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ องค์การหัวรุนแรง กลุ่มฮามาส และอัล-เคดา เพื่อให้รู้จักสงครามศักดิ์สิทธิ์ วิกฤติโลก และตะวันออกกลาง, ๔. The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order กล่าว ถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในประเทศต่าง ๆ วัฒนธรรม ความเชื่อ ลัทธิทางศาสนา อดีต ชาติพันธุ์และเชื้อชาติต้นเหตุของความขัดแย้งในอนาคต อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของวัฒนธรรมตะวันตก, ออร์โธดอกซ์ตะวันออก, ลาตินอเมริกา, อิสลาม, ญี่ปุ่น, จีน, ฮินดู และอาฟริกา, ๕. Dereliction of Duty: Lyndon Johnson, Robert McNamara, the Joint Chiefs of Staff, and the Lies that Led to Vietnam ศึกษา ยุทธศาสตร์ทหารที่ผิดพลาดโดยประธานาธิบดีจอห์นสันในสงครามเวียดนาม การขาดการเสนอแนะที่ดีจากประธานเสนาธิการร่วม และหลงเข้าสู่สงครามที่ดูจะยังไม่สมเหตุผล, ๖. The Forgotten Continent: The Battle for Latin America's Soul กล่าว ถึงลาตินอเมริกาที่ชาติตะวันตกมองข้าม ปัญหาความยากจน ความไม่เสมอภาค ความไม่เป็นธรรมในสังคม ยาเสพติด การหลบหนีเข้าเมือง ภัยต่อเสถียรภาพในภูมิภาคที่ร่ารวยน้ามันและสินค้ายุทธศาสตร์อื่น ๆ, การคุกคามสภาพแวดล้อม, ๗. Recruiting for Uncle Sam: Citizenship and Military Manpower Policy เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบการเกณฑ์ทหารโดยสมัครใจและนโยบายการระดมพล, ๘. Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India 1942-45 เป็นเรื่องของผู้บัญชาการกองทัพน้อยที่ ๑๔ ของอังกฤษ ซึ่งประสบปัญหาขวัญกำลังใจต่างต้องร่นถอยเป็นเวลายาวนานและเสื่อม เกียรติภูมิ สุดท้ายได้รับชัยชนะเข้าสู่กรุงย่างกุ้ง เป็นเรื่องที่น่าสนใจของผู้นำในการเผชิญกับความยากลาบาก โดยมีจุดเด่นของเรื่องอยู่ที่ความจริงใจ, ความถ่อมตัว, ความอดทนต่อการถูกเยาะเย้ย (ironic wit) และความเข้าใจในมนุษย์, ๙. George C. Marshall: Soldier-Statesman of the American Century กล่าวถึงนายพล จอร์จ ซี มาร์แชล, ๑๐. The Landmark Thucydides: A Comprehensive Guide to the Peloponnesian War เป็น ประวัติศาสตร์กรีกเกี่ยวกับสงครามระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตาช่วง ๔๓๑ ปีก่อน ค.ศ. ถึง ๔๐๔ ปีก่อน ค.ศ. ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับสงคราม, รัฐบาลและจักรวรรดิ และความเข้มแข็งและความอ่อนแอ, และ ๑๑. The U.S. Military Intervention in Panama: Origins, Planning, and Crisis Management June 1987-December 1989 กล่าวถึงการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในสาธารณรัฐโดมินิกันเมื่อปี ๑๙๖๕, ปานามา เมื่อปลายปี ๑๙๘๙ การวางแผนทางทหาร ยุทธศาสตร์ระดับสูง การบัญชาการหน่วยกาลังรบภูมิภาค พลังอำนาจของหน่วยกาลังรบ และข้อจากัดในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายชาติ

ในส่วนของกองทัพเรือสหรัฐฯ รายชื่อหนังสือสำหรับการอ่านเพื่อความเป็นทหารอาชีพ เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์, ความรักชาติและแรงบันดาลใจ, ชีวประวัติ และทฤษฎีและยุทธศาสตร์ทหารที่มีชื่อเสียง เพื่อให้ความรู้และการวิเคราะห์อำนาจกาลังรบทางทะเล, ประวัติศาสตร์กองทัพเรือ, หน่วยบินทหารเรือ และบทบาทของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในอดีต, ปัจจุบัน และสงครามในอนาคต แบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ Junior Enlisted, Leading Petty Officer, Division Leader, Department/Command Leader และ Senior Leaders แต่ละระดับมี ๑๒ เล่ม ซึ่งแบ่งเป็น ๖ กลุ่ม คือ การบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์, การรบร่วมและผสม, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking), การรู้จักภูมิภาคและวัฒนธรรม, สิ่งสืบทอดทางทหารและทหารเรือ, และผู้นำ

สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ หนังสือสำหรับการอ่านเพื่อความเป็นทหารอาชีพจะให้ข้อมูล, วิเคราะห์, กระตุ้น และให้ความรู้ โดยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกาลังทางอากาศ, วิเคราะห์ความขัดแย้งที่มีอยู่และความสัมพันธ์ในอนาคต, กระตุ้นผู้อ่านด้วยเรื่องที่ประสบความสำเร็จ, ให้ บทเรียนจากการรบ และเป็นแนวทางให้กาลังพลทหารอากาศทุกชั้นยศได้เพิ่มพูนความรู้และความชำนาญ ดารงการริเริ่มของกองทัพอากาศในปัจจุบันและเตรียมตัวสำหรับอนาคต โดยจะกำหนดในแต่ละปี ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๕๔ นี้ มี ๑๔ เรื่อง แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ผู้นำ, บริบททางยุทธศาสตร์ (Strategic context) และสิ่งสืบทอดทางทหาร

นอกจากนี้ เสนาธิการร่วม มีหนังสือสำหรับการอ่านเพื่อความเป็นทหารอาชีพจานวน ๒๒ เล่ม ประกอบด้วยบทเรียนจากอดีต, ประเด็นสำคัญในปัจจุบัน ศตวรรษที่ ๒๑ และการบังคับบัญชาและการเป็นผู้นำ รวมทั้งนาวิกโยธิน และหน่วยยามฝั่ง (Coast guard) ของ สหรัฐฯ ก็ได้กำหนดรายชื่อหนังสือเพื่อความเป็นทหารอาชีพไว้ด้วย แต่จะไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้ ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จากเว็บไซท์อ้างอิง

จะ เห็นว่าทุกเหล่าทัพของสหรัฐฯ รวมทั้งฝ่ายเสนาธิการร่วม และแม้กระทั่งนาวิกโยธิน และหน่วยยามฝั่ง ต่างก็มีหนังสือสำหรับการอ่านแบบทหารอาชีพ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่กองทัพบกไทยจะได้กำหนดให้มีหนังสือสำหรับอ่านเพื่อความเป็นทหารอาชีพ อันจะเป็นการเสริมสร้างมุมมองและมีความเป็นอัตลักษณ์ของทหาร ซึ่งการอ่านวิชาการทางพลเรือนก็นับว่าให้ประโยชน์ เราสามารถพูดคุยกับพลเรือนได้รู้เรื่อง แต่ในเมื่อเราเป็นทหารอาชีพก็สมควรที่จะมีหนังสือเฉพาะสำหรับเราเอง ซึ่งเป็นความรู้เชี่ยวชาญในอาชีพของตน โดยเมื่อได้อ่านหนังสือตามที่กำหนดแล้ว ใครที่สนใจหนังสืออื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ก็สามารถดาเนินการได้ตามความชอบส่วนตัวของตนเอง นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นการส่งเสริมให้กาลังพลกองทัพบกรักการอ่านมากขึ้น ซึ่งจากการวิจัยด้านการอ่านของประเทศไทย พบว่าคนไทยยังอ่านหนังสือน้อย

สำหรับ แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ควรกำหนดกลุ่มหนังสือและจานวนแล้วพิจารณาหนังสือที่เหมาะสมในแต่ละปี กำหนดกลุ่มกาลังพล กำหนดมาตรการตรวจสอบและประเมินความได้ผลของการดาเนินการ รวมทั้งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกองทัพบกมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายหน่วย หากหน่วยใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีก็สามารถดาเนินการได้ทันที โดยในส่วนของกองทัพบกก็จะได้มีการดาเนินการในส่วนนี้ต่อไป สำหรับกลุ่มเรื่องที่น่าสนใจได้แก่ ประวัติศาสตร์ด้านการทหาร, ความรักชาติและแรงบันดาลใจ, ความเป็นผู้นำทหาร, ชีวประวัติ ผู้นำที่สำคัญ และทฤษฎีและยุทธศาสตร์ทหารที่มีชื่อเสียง รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม และภูมิภาค ซึ่งหนังสือเหล่านี้จะให้ความรู้และการวิเคราะห์อำนาจกาลังรบ, ประวัติศาสตร์การรบ, ยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี, อาวุธยุทโธปกรณ์, เทคโนโลยีทางทหาร และบทบาทของกองทัพในอดีต, ปัจจุบัน และสงครามในอนาคต ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้กับกองทัพบกไทย โดยเฉพาะประเด็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต ซึ่งหากมีความเข้าใจในวัฒนธรรม ความเป็นมา และความเกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งในระดับพื้นที่และภูมิภาคแล้ว ก็จะช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

สรุป

การ อ่านช่วยให้ข้อมูล ความรู้ และสามารถนำมาใช้คิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองต่อไป หน่วยที่เกี่ยวข้องควรได้ร่วมกันกำหนดรายชื่อหนังสือที่เหมาะสมตามกลุ่มกา ลังพล โดยให้ห้องสมุดของหน่วย หรือศูนย์การศึกษาในพื้นที่จัดหาหนังสือ หรืออาจจัดหาเป็นส่วนรวมแล้วเผยแพร่ลงในเว็บไซท์ ควรมีการวัดผลทั้งโดยหน่วยหรือ e-learning หรือ การทดสอบความรู้ตามรายชื่อหนังสือที่กำหนดก่อนเข้ารับการศึกษาหลักสูตรตาม แนวทางรับราชการหรือหลักสูตรที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างนิสัยหลักการอ่านและให้กาลังพลทั้งหมดมีพื้นฐานการอ่านหนังสือ เดียวกันอันจะทาให้มีมุมมองหรือแนวคิดของทหารอาชีพเพื่อกองทัพบกอย่างแท้ จริง สำหรับความรู้อื่น ๆ ถือเป็นการพัฒนาตนเองซึ่งแต่ละบุคคลจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่ตนชอบหรือหาอ่าน เอง สาหรับการสืบค้นข้อมูล ขั้นต้นสามารถดูได้จากเว็บไซท์วิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักรของสหรัฐฯ ที่ http://www.ndu.edu/Library/index.cfm?secID=217&pageID=126&type=section และ สุดท้ายนี้ หวังว่าจะได้จุดประกายในการสร้างนิสัยรักการอ่าน และมีผู้นำไปขยายผลสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริงต่อไป อันจะส่งผลต่อการพัฒนากองทัพบกและประเทศชาติต่อไป หรืออย่างน้อยก็อาจเป็นการพัฒนาตนเอง