Get Adobe Flash player
Thai English French German Italian Portuguese Russian Spanish

สถิติผู้เข้าชม

001104010
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งหมด
92
111
408
1103172
1525
1043
1104010

Your IP: 18.117.182.179
Server Time: 2024-04-19 17:24:35

ผุ้ใช้งานในขณะนี้

มี 4 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

การเป็นทหารอาชีพ

คนที่ไม่ทำอะไรอย่างอื่น นอกจากเป็นทหารนะสิ

ในใจของผมตอนนั้นคิดว่า อืม.... เพื่อนคนนี้ตอบเข้าท่าดีนะแต่พอมานึกอีกทีว่า ถ้าทหารคนหนึ่ง ใช้เวลานอกราชการไปประกอบอาชีพที่สุจริต เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัวอย่างนี้เขาก็กลายเป็นคนที่ถูกตราหน้าว่าไม่ได้ทหารอาชีพ เช่นบางคนใช้เวลานอกราชการไปขับรถแท็กซี่ สอนหนังสือ หรือ เขียนบทความ (อย่างที่ผมกำลังทำอยู่ตอนนี้) จะกลายเป็นว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นทหารอาชีพน่ะสิครับ

 สุดท้ายผมเลยต้องพึ่งตำราเพราะว่าเราคงจะต้องหากรอบอ้างอิงในการที่จะคิดจากการไปค้นคว้าพบว่ามีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับทหารอาชีพในภาษาอังกฤษนั้นจะมีการใช้คำศัพท์อยู่สองคำ คือคำว่าProfession of Arms ซึ่งสามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ความเป็นมืออาชีพของผู้ที่ถืออาวุธหรืออาจจะเรียกได้ว่าทหารมืออาชีพหรือทหารอาชีพและอีกคำหนึ่งว่าMilitary Professionalism สามารถถอดความเป็นไทยได้ว่าความเป็นทหารอาชีพ

การที่จะเป็นทหารอาชีพตามแนวความคิดของชาวตะวันตกได้นั้น แซมมวล พีฮันทิงตัน ซึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ได้กล่าวไว้ในหนังสือSolider and The State: The Theory and Politics of Civil-Military Relations ว่าแนวคิดของการเป็นทหารอาชีพนั้นจะต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่งคือ

(1) ความเชี่ยวชาญ (Expertise) โดย ฮันทิงตันมองว่าทหารจะต้องมีความชำนาญทั้งทางด้านทฤษฏี คือหลักการ/กรอบแนวคิดทางทหาร และด้านปฏิบัติ คือความชำนาญการในการปฏิบัติการทางทหารตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและทหารอาชีพจะต้องมีความสามารถในเรื่องที่ทำอยู่ในระดับมาตรฐานที่ต้องการ

(2) ความรับผิดชอบ (Responsiveness) ทหารอาชีพจะต้องมีความรับผิดชอบในภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบไม่ว่าภารกิจหรือหน้าที่นั้นจะอยู่บนความเสี่ยงหรือต้องนำชีวิตเข้าแลกรับผิดชอบต่อสังคม ทำงานด้วยความประณีต และชำนาญโดยค่าตอบแทนไม่ใช่ความมุ่งหมายหลัก

(3) การให้ความร่วมมือและรักหมู่คณะ (Corporateness) ทหารอาชีพจะต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยของตนเองด้วยความจริงใจกระทำด้วยความทุ่มเท โดยใช้ความพยายามเต็มความสามารถทั้งร่างกายและจิตใจ

นอกเหนือจากองค์ประกอบที่ทหารอาชีพจะต้องมีของ ฮันทิงตัน แล้ว เอกสารประกอบคำบรรยาย โรงเรียนเสนาธิการทหารบก (รร.เสธ.ทบ.) เรื่องบทบาท และอุดมการณ์ของทหารอาชีพของ พล.ท.บุญเยี่ยม สาริมาน ได้กล่าวไว้ว่าการเป็นทหารอาชีพ หมายถึง การเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพของทหารพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนกระทำหรือมิได้กระทำ ทหารอาชีพต้องมีหลักความประพฤติที่ถูกต้องปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควรให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน

นอกจากนี้ พล.ท.บุญเยี่ยมฯ ยังได้แบ่งคุณลักษณะของทหารอาชีพออกเป็น 4 ประการไว้ใน เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง บทบาทและอุดมการณ์ของทหารอาชีพของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ดังนี้

(1) มีความสำนึกในการเป็นทหาร

(2) ฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง

(3) มีความซื่อสัตย์สุจริต

(4) ความกล้าหาญ

พล.ท.บุญเยี่ยม ฯ ยังได้กล่าวถึงอุดมการณ์ของทหารอาชีพ ดังนี้

(1) มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

(2) มีความซื่อสัตย์ต่อหน่วย

(3) มีความรับผิดชอบ และ

(4) มีความเสียสละ

นอกจากนี้ พล.ท.บุญเยี่ยม ฯ ยังได้กล่าวถึงบทบาทของทหารที่จะต้องแยกออกจากการเมืองโดยเด็ดขาดทั้งนี้เพราะการเมืองจะทำให้เกียรติภูมิของทหารตกต่ำลง ทำให้ไม่มีศักดิ์ศรี

ส่วน พล.อ.ท. มล. สุปรีชา กมลาศน์ ได้กล่าวถึงความเป็นทหารอาชีพในบทความที่ชื่อคุณธรรมและจรรยาบรรณของทหารอาชีพไว้ว่า อาชีพทหาร มีเอกลักษณ์พิเศษกว่าอาชีพอื่นตรงที่ทหารเป็นกลุ่มชนที่ถืออาวุธ มีเครื่องแบบ มียศมีระบบอาวุโสรักหมู่รักคณะ และ มีวินัยที่เคร่งครัดแต่ที่เด่นชัดและเป็นที่เข้าใจกันดีว่า อาชีพอื่น อาจจะขายความคิด ขายวิชาขายบริการ หรือ ขายความบันเทิง แต่ทหารอาชีพนั้น ขายชีวิตทหารอาชีพ ต่างจาก ทหารรับจ้างตรงที่ทหารอาชีพนั้นมีจรรยาบรรณถึงขั้นพลีชีพได้เมื่อชาติต้องการ ส่วนทหารอาชีพ กับ คนที่มีอาชีพเป็นทหารก็เช่นกันเขาอาจเชี่ยวชาญทั้งบู้และบุ๋น เป็นนักยุทธศาสตร์ชั้นยอดแต่ก็ไม่นับว่าเป็นทหารอาชีพ หากเขาผู้นั้นไร้ซึ่งจรรยาบรรณ

จากข้อความในข้างต้น ผมคิดว่าเรา ๆ ท่าน ๆ อาจจะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นกับคำว่าทหารอาชีพ ถ้าทหารคนใดไม่มีความชำนาญในอาชีพของตนเช่น ทหารคนหนึ่งเป็นผู้บังคับหมวดทหารราบแต่ไม่สามารถที่จะปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาภายในหมวดนำหมวดของตนเองเข้าทำการรบได้ แสดงว่าทหารคนนั้น ไม่ได้เป็นทหารอาชีพ

นอกจากความชำนาญแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่สิ่งนี้ทำให้ผมนึกไปถึง การประกอบอาชีพเสริมของทหารนั้นอาจะส่งผลให้ปฏิบัติหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบได้ไม่อย่างเต็มที่เช่น ทหารคนหนึ่งใช้เวลาตอนเย็นขับรถแท็กซี่เพื่อนำเงินมาส่งเป็นค่าเทอมการศึกษาของลูก เมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น เช่นมีกรณีพิพาทตามแนวชายแดนแล้วหน่วยของตนเองจะต้องเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ที่เกิดปัญหาแล้วทหารคนนั้น อิด ๆ ออด ๆ หลีกเลี่ยงที่จะไปปฏิบัติหน้าที่นั้นหรือทหารคนใดที่ได้รับภารกิจให้ไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่หลีกเลี่ยงเนื่องจากตนเองเปิดร้านขายอาหารอยู่กรุงเทพเพราะไม่มีคนขาย เราถือว่าทหารคนนั้นไม่ได้เป็นทหารอาชีพ (แต่ก็มีคำถามว่าย้อนกลับว่า ถ้าไปแล้วไม่มีเงินส่งลูกเรียนแล้วจะทำอย่างไรเรื่องเหล่านี้คงจะกล่าวถึงในบทความต่อ ๆ ไป) ส่วนเรื่องของทหารมาเฟียผมคิดว่าเราคงไม่ต้องกล่าวถึงกันอยู่แล้ว เพราะว่ามีความประพฤติที่ไม่ถูกต้อง

ไม่เพียงแต่ทหารอาชีพจะต้องมีความชำนาญในอาชีพของตนและความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่แล้วสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะคอยควบคุมและกำหนดให้ทหารคนนั้นเป็นทหารอาชีพนั้นคือจรรยาบรรณของความเป็นทหารทั้งนี้เพราะจรรยาบรรณ จะหมายถึง ข้อพึงปฏิบัติหรือประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอาชีพกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิกอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นจรรยาบรรณของทหารน่าจะมีความหมายที่กระชับสั้นๆ คืออาชีพที่พร้อมจะสละชีวิตและความสุขส่วนตัวเพื่อชาติ

มาถึงตรงนี้ผมคิดว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะเริ่มมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่าการเป็นทหารอาชีพอาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนัก เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ของการเป็นทหาร ความน่าเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อสถาบันทหารเขาเหล่านั้นมอบความไว้วางใจให้คนที่มีอาชีพเป็นทหารทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่กันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสการถาโถม ทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความคิด และ เทคโนโลยีที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมไม่เฉพาะแต่ผู้ที่เป็นทหารเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีอาชีพทุกหมู่เหล่าอีกด้วย
เราคงต้องยอมรับกันว่าคุณภาพของกองทัพไทยในสายตาของประชาชนนั้นได้ให้ความสำคัญกับความเป็นทหารอาชีพ ของทหารในกองทัพ ว่ามีมากน้อยเพียงไรถ้าทหารส่วนใหญ่ในกองทัพมีระดับความเป็นทหารอาชีพที่สูงแล้วกองทัพก็จะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากยิ่งขึ้นเพราะฉะนั้นกองทัพเองจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสนใจกับการที่จะสร้าง พัฒนาเลยไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของกำลังพลให้มีระดับความเป็นทหารอาชีพที่สูง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับกับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษนี้ และ ทศวรรษหน้าสิ่งที่เป็นคำถามตามมาก็คือแล้วเราจะสร้างทหารอาชีพกันอย่างไร ?

 



ที่มา : พ.อ.ดร.ธีรนันท์ นันทขว้าง