Get Adobe Flash player
Thai English French German Italian Portuguese Russian Spanish

สถิติผู้เข้าชม

001104047
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งหมด
18
111
445
1103172
1562
1043
1104047

Your IP: 3.145.60.29
Server Time: 2024-04-20 05:11:11

ผุ้ใช้งานในขณะนี้

มี 3 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

ประวัติความเป็นมาวันกองทัพไทย

  วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหา อุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น วันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. ๙๕๔ คำนวณได้ ตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ (บางตำราว่า ปี พ.ศ. ๒๑๓๖)

  เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้ เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม


  เรื่องการเปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย ลง 23 ส.ค.2549 ในปัจจุบัน วันที่ 18 มกราคม จึงถือเป็น "วันยุทธหัตถี" "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" หรือ "วันกองทัพไทย" "วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จ พระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 อันตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 กำหนดให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” (แทนวันที่ 25 มกราคม เนื่องจากนายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับ วันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 ที่กำหนดเป็นวันที่ 25 มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

 ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อย มาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะ ก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้

ในสมัย อยุธยามีการยุทธหัตถี รวม 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระอินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์ ครั้งที่สองในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต และครั้งที่สาม ก็คือ ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็น ที่เลื่องลือไปไกล

บทบาทกองทัพไทย

  การป้องกันประเทศ

  กองทัพไทย มีหน้าที่สำคัญคือการป้องกันประเทศทั้งในยามสงบและยามที่เกิดภัย โดยจัดให้มีการฝึกกำลังรบอยู่เป็นประจำ ป้องกันภัยทั้งในประเทศและนอกประเทศ รักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสงบไม่เกิดปัญหาซึ่งกันและกัน จัดกำลังป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย อบรมราษฎรในพื้นที่เพื่อสามารถป้องกันตนเองได้

  ส่งเสริมการปกครอง

  กองทัพไทยมีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนชาวไทยรักชาติ รักษาความมั่นคงความสงบสุขของสังคม โดยช่วยกันสอดส่องดูแล ให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ทั้งนี้กองทัพไทยยังป้องกันตามชายแดนเพื่อแก้ปัญหาการลำเลียงยาเสพติดที่ เป็นภัยต่อประเทศ

  การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

   สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดและสำคัญสำหรับประชาชน ทั้งนี้ยังเป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งแก่เหล่าทหารเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็น มิ่งขวัญแก่เหล่าทหารเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ กองทัพไทยจึงมีส่วนสำคัญในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในโอกาสวันเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาของทุกปี กองบัญชาการทหารสูดสุด ได้จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ สวนสนามทหารรักษาพระองค์

  การรักษาผลประโยชน์ของคนในชาติ

  กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการประมง พื้นที่ทำมาหากิน บรรเทาสาธารณภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย แก้ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่นการเกิดภัยแล้งก็ปฏิบัติการฝนหลวงตามโครงการพระราชดำริ

  ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

  สอดส่องดูแล รักษา ปกป้อง ทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย พร้อมทั้งส่งเสริมจัดกิจกรรมต่างขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีสำนึกที่ดี ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไว้ ทั้งนี้กองทัพยังมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญโดยพัฒนาทั้งทาง ตรงและทางอ้อมอีกด้วย

  กองทัพไทยในปัจจุบัน

  กองทัพไทย ได้กำหนดนโยบายเพื่อความมั่นคงแห่งชาติไว้ ดังนี้ (จาก http://www.schq.mi.th/military_history.pdf สืบค้น 17 ม.ค. 2551 )

  • เพื่อป้องปราม ป้องกันและต่อสู้เอาชนะภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ
  • เพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประชุม
  • เพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบภายในประเทศ
  • เพื่อสนับสนุนและร่วมในการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทาสาธารณภัย
  • เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติ
  • เพื่อร่วมมือกับมิตรประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในการรักษาสันติภาพและการป้องกันร่วมกัน

  กิจกรรมในวันกองทัพไทย

  ในวันนี้เหล่ากองทัพได้ทำกิจกรรมคือ พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่นิยมเรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหารทุกคน และเพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมและเป็นการสักการะดวงวิญญาณนักรบไทย จะมีพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ทางทหาร เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ทหารอาสา อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ฯลฯ

{jcomments on}